เมนู

โยมได้เลือกคัดจัดสรรเอามาไต่ถาม คนอื่นนอกจากทานที่มีปัญญาเช่นพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ที่
ไหนเล่าจะพึงแก้ปัญหานี้ได้ พระผู้เป็นเจ้ามีปัญญาเฉลียวฉลาดมีความสามารถในการแก้ปัญหา
จึงวิสัชนาปัญหาของโยมนี้ให้หมดจดขาวบริสุทธิ์สิ้นวิมัติกังขาสงสัยโยมจะทรงจำไว้ในพระหฤทัย
โดยไม่มีความเคลือบแคลงตลอดกาลทุกเมื่อ
ยักขานัง มรณภาวปัญหา คำรบ 1 จบเพียงนี้

สิกขาปทอปัญญาปนปัญหา ที่ 2


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรสุนทรปรีชามหากษัตริย์มีพระราชโองการตรัส
ถามปัญหาอื่นสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ ในกาลล่วงไปแล้ว มี
อาจารย์ของหมอผู้ประกอบยารักษาโรคอยู่ 7 คน ชื่อนารทะคนหนึ่ง ชื่อธัมมันตริกะคนหนึ่ง ชื่อ
อังคีรสะคนหนึ่ง ชื่อกปิละคนหนึ่ง ชื้อกัณฑรัตติกามะคนหนึ่ง ชื่อตุละคนหนึ่ง ชื่อปุพพกัจ-
จายนะคนหนึ่ง อาจารย์เหล่านี้ รู้อุบัติความบังเกิดขึ้นแห่งโรค รู้โรคนิทาน คือ รู้ว่าโรคชนิดนี้
บังเกิดขึ้นแล้ว ต่อไปจะต้องเป็นอย่างนั้น ๆ และรู้ความเจริญความกำเริบของโรค รู้สมุฏฐาน
ของโรค รู้อาการของโรค รู้รักษา และรู้ว่าจะรักษาหายหรือไม่หาย ตกว่าอาจารย์เหล่านั้นตรวจ
ครั้งเดียว ก็รู้อาการของโรคนั้นทั้งหมดว่า โรคทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ จักบังเกิดขึ้นในกายนี้
เป็นมั่นคง เสมือนหนึ่งว่าม้วนด้ายเขากลุ่ม จับต้นเชือกได้แล้วก็ม้วนไปเป็นลำดับฉะนั้น อาจารย์
เหล่านี้มิใช่เป็นพระสัพพัญญูยังรู้อาการของโรคได้เป็นสายไปฉะนี้ ส่วนพระตถาคตเป็นพระสัพ-
พัญญูรู้อนาคตรู้ได้ทั้งหมด ไฉนเมื่อเรื่องมีประมาณเท่านี้บังเกิดขึ้น พระองค์จึงไม่เอาพุทธญาณ
เข้าจับ ทรงบัญญัติสิกขาบทให้มีประมาณเท่านั้น ชอบแต่ว่พระองค์จะทรงกำหนดบัญญัติสิก-
ขาบทเสียให้หมดในคราวเดียว นี่อะไร ต่อเมื่อมีเรื่องบังเกิดขึ้นแล้ว ความเสียหายได้ปรากฏ
แพร่หลายไป จนถูกติเตียนนินทาต่าง ๆ แล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกในกาลนั้น พระ
ตถาคตเป็นเช่นนี้ จะแปลว่ากระไร พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า ญาตเมตํ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราช-
สมภารผู้ประเสริฐ การบัญญัติสิกขาบทคาดหน้านั้น พระตถาคตทรงทราบเข้าใจได้ดีว่าเมื่อมนุษย์
ทั้งหลายติเตียนโพนทะนาอยู่ พระองค์ควรจะทรงบัญญัติสิกขาบทในคราวเดียวนี้ ให้ครบ 150
สิกขาบทกว่า ๆ แต่พระองค์ทรงพระปริวิตกว่า ถ้าอาตมาจะทรงบัญญัติสิกขาบทตั้ง 150 กว่า

ในคราวเดียว ชนทั้งหลายจะสะดุ้งในปลีกตัวออกต่าง ๆ จากการปฏิบัติไม่เชื่อฟัง ก็ชนเหล่าใด
ไม่เชื่อคำเรา ชนเหล่านั้นจักมีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า อนึ่ง แม้ผู้ที่อยากจะบวชในพระพุทธ-
ศาสนา ก็จักไม่บวชเสีย เพราะท้อใจว่า กิจที่จะต้องทำไหนศาสนานี้มากนัก ยากที่จะกระทำได้
อาศัยเหตุนี้ พระมหามุนีบรมสุคตเจ้าจึงปล่อยไว้ ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทก่อน ต่อมีเรื่องบังเกิด
ขึ้น จึงปลุกให้รู้สึกด้วยธรรมเทศนา เมื่อมีความเสียหายปรากฏฟุ้งขจรไปแล้ว จึงบัญญัติ
สิกขาบท การที่พระตถาคตไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทเป็นข้อกฎข้อบังคับไว้ก่อนกระทำผิดนี้ มิใช่
เป็นด้วยพระองค์มีความรู้ไม่เท่าไม่ทันกาลอนาคต พระองค์มีพระสติตั้งมั่นรอบคอบต่อเหตุผล
ทั้งประกอบไปด้วยพระกรุณาในประชาชน ดังวิสัชนามาฉะนี้ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี เมื่อพระนาคเสนถวายวิสัชนามาดังนี้ ก็มีจิตชื่นชม
โสมนัส ทรงอนุวัติถ้อยคำของพระเถระและตรัสชมว่า เอวเมตํ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชาญาณ การทั้งนี้อาจเป็นได้เช่นนั้น ตามที่พระผู้เป็นเจ้าชี้แจงแสดงแก้ไขมานั้น
โยมเห็นแจ้งแจ่มกระจ่างตลอดแล้ว ชนทั้งหลายได้ฟังว่า กิจที่จะต้องทำในศาสนานี้มีมากดังนี้แล้ว
ย่อมจะเกิดความสะดุ้งท้อถอย จะไม่มีใครบวชในชินศาสนาแม้สักคนหนึ่ง การที่พระตถาคต
ไม่ทรงบัญญัติสักขาบทคาดหน้าก็เป็นเพราะเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแก้ถูก โยมเห็นด้วยทุก
ประการ โยมจะทรงจำไว้ ดังนัยที่วิสัชนามานี้
สิกขาปทอปัญญาปนปัญหา คำรบ 2 จบเพียงนี้

สุริยโรคภาวปัญหา ที่ 3


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชามหากษัตริย์ขัตติยาธิบดีพระราชโองกาตรัสถามปัญหา
อื่นสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พระอาทิตย์นี้แผดแสงแรงกล้าตลอด
กาลทุกเมื่อ หรือว่าบางคราวก็แผดแสงอ่อน โยมมีความสงสัย ขอพระผู้เป็นเจ้าจงชี้แจง
แถลงนัยให้โยมทราบในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า สพฺกาลํ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
พระอาทิตย์แผดแสงกล้าเป็นนิตย์ จะได้อ่านในบางคราวกล้าในบางครั้งหามิได้ บพิตรจงทราบ
ในพระหฤทัยด้วยประการฉะนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ จึงมีพระราชโองการตรัสถามต่อไปอีกว่า ยทิ ภนฺเต